วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562

โครงงานเพื่อการศึกษา เรื่องสัตว์ในป่าหิมพานต์


          โครงงานเพื่อการศึกษา
เรื่อง สัตว์ในป่าหิมพานต์



คณะผู้จัดทำ
เด็กหญิงจุฑารัตน์   ทวยมา         เลขที่ 15
เด็กหญิงธัญญรัตน์   เทศบุตร     เลขที่ 20
เด็กหญิงเบญจวรรณ ขจรศิริ      เลขที่ 26
เด็กหญิงวรรณพร พละศักดิ์      เลขที่ 31
เด็กหญิงเบญจพร ธรรมจักรจินดา เลขที่ 25
เด็กหญิงชัชลิยา เตชะมา  เลขที่ 38
เด็กหญิงอริสรา คุณชาติ  เลขที่ 37
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1



โรงเรียนนิคมวิทยา
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูจารุวรรณ เกตุถาวร
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562



                                                                                                                           
กิตติกรรมประกาศ

โครงงานนี้สำเร็จขึ้นได้ด้วย คณะผู้จัดทำขอขอบคุณ คุณครูจารุวรรณ เกตุถาวรเป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ ทำให้การจัดทำโครงงานในครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ขอขอบคุณ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ที่ช่วยแนะนำ สนับสนุนและเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงงานครั้งนี้
สุดท้ายนี้ขอขอบใจสมาชิกในกลุ่มทุกคนที่มีส่วนร่วม ร่วมแรง ร่วมใจช่วยกันผ่านปัญหาต่างๆ ให้ข้อเสนอแนะ ให้คำแนะนำจนผลงานสำเร็จสมบูรณ์และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป


คณะผู้จัดทำ















                                                                                                                     
บทคัดย่อ

การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการกำเนิดสัตว์ในป่าหิมพานต์  2.เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก 3.เพื่อเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้ศึกษาการกำเนิดของสัตว์ในป่าหิมพานต์และลักษณะความเป็นมาของสัตว์ในป่าหิมพานต์
ผลการศึกษาและจัดทำโครงงานพบว่าสัตว์ป่าหิมพานต์มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปเช่นนาคก็จะมีรูปร่างคล้ายงูใหญ่ที่มีเกล็ดตามลำตัวแต่มีหงอนและสีที่ต่างกันออกไปตามบารมี คชสีห์มีรูปร่างคล้ายสิงห์แต่มีงวงเหมือนช้างและไม่ปรากฏการกำเนิดที่ชัดเจน เป็นต้น




















สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                        หน้า
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                     
บทคัดย่อ                                                                                                                                                    
บทที่ 1 บทนำ
-ที่มาและความสำคัญของโครงงาน                                                                                              1                                  -วัตถุประสงค์                                                                                                                               1                                  -ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า                                                                                                     1                                  -ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                         1                                                                                        
บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง                                                                                                    2-6
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                                                           7
บทที่ 4 ผลของการดำเนินงาน                                                                                                                    8-11
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
-สรุปผลการศึกษา                                                                                                                         12
-ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน                                                                                                        12
-ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                12
บรรณานุกรม                                                                                                                                              13








บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
สัตว์ในป่าหิมพานต์เป็นสัตว์ที่ดูลึกลับและหน้าศึกษาหาข้อมูล เป็นสัตว์ที่ดูมีรูปร่าง สี หลากหลายและแปลกประหลาดในตัวเดียว ดูมีอิทธิฤทธิ์ บางตัวเป็นเหมือนการผสมผสานกันของสัตว์หลายๆชนิดรวมกัน บางตัวก็ดูเหมือนครึ่งคนครึ่งสัตว์ ดูมีหลายอย่างที่หน้าค้นหาและดูหน้าศึกษาของสัตว์ในป่าหิมพานต์
ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงอยากค้นคว้าหาข้อมูล การกำเนิดและความเป็นมาของสัตว์ในป่าหิมพานต์ ให้มีความรู้เพื่อจะได้นำความรู้จากการศึกษาค้นคว้า เรื่อง สัตว์ในป่าหิมพานต์ ไปเผยแพร่ให้คนที่อยากมีความรู้เรื่องนี้ได้ศึกษาต่อไป

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อศึกษาการกำเนิดของสัตว์ในป่าหิมพานต์
2.  เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก
3.  เพื่อนำไปเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้ศึกษาการกำเนิดและความเป็นมาของสัตว์ในป่าหิมพานต์

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.  ศึกษาการกำเนิดและลักษณะเฉพาะของสัตว์ในป่าหิมพานต์
2.  ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ 8 มิถุนายน 2562 2 สิงหาคม 2562

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.  ได้ความรู้เรื่องการกำเนิดของสัตว์ในป่าหิมพานต์
2.  ได้รู้จักการสร้างเว็บบล็อก
3.  ทำให้คนที่อยากมีความรู้เรื่องสัตว์ในป่าหิมพานต์ได้ศึกษาต่อ

บทที่ 2
เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.  หนังสือสัตว์หิมพานต์ในตำนาน ผู้เขียน BooksMaker   ได้กล่าวถึง สัตว์ป่าหิมพานต์คือสัตว์ที่อยู่ในดินแดนต้องมนตรา "สัตว์หิมพานต์" และถิ่นที่อยู่ของมัน ไม่ว่าจะเป็นพญาเวนไตย ครุฑขนาดยักษ์ทรงพลัง พญานาคผู้มากฤทธา ราชาแห่งท้องวารี นกการเวกเสียงใสที่สะกดทุกชีวีให้หลงไหลในท่วงทำนอง ถือได้ว่าเป็นสัตว์มหัศจรรย์ของศาสนาพุทธ
2.  หนังสือสิงสาราสัตว์ในป่าหิมพานต์  ผู้เขียน ศิลปทรรศน์  ได้กล่าวถึง ป่าหิมพานต์เป็นดินแดนลึกลับที่อยู่ไกลแสนไกล เป็นป่าใหญ่ที่เกินกว่าที่คนทั่วไปจะเดินทางเข้าไปถึง ด้วยความมหัศจรรย์ของป่าหิมพานต์นี้เองรูปแบบของสัตว์ในป่าหิมพานต์จึงมีรูปร่างงดงามและน่าพิศวง หรือเรื่องราวของสัตว์แปลกประหลาดงดงามในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นช้างทรง ม้าทรง สัตว์หิมพานต์แบบทวิบาท หรือสัตว์ 2 เท้า จุบาท หรือสัตว์ 4 เท้า ชลบาท หรือสัตว์น้ำ รวมถึงสัตว์จำพวกผสมอย่างกินรา พานรมฤค อสุรวายุภักดิ์ อสูรวิหค อสุรปักษา นางเงือก มัจฉานุ เทพนรสิงห์ และภาพประกอบอันหลากหลายในป่าหิมพานต์
3.  หนังสือสัตว์หิมพานต์ ผู้เขียน ส. พลายน้อย ได้กล่าวถึง สัตว์หิมพานต์ เป็นเรื่องของสัตว์ที่มีปรากฏในวรรณคดี ประเพณี จิตรกรรม และสถาปัตยกรรม บางตัวมีประวัติตำนานพอจะเล่าขานกันได้ แต่บางตัวก็ไม่มีเรื่องเล่าเพราะเป็นเพียงความคิดที่จะสร้างสรรค์สัตว์ประหลาดขึ้นมาเท่านั้น
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า สัตว์ในป่าหิมพานต์เป็นสัตว์ที่ถูกต้องมนตรา มีรูปร่างลักษณะที่ต่างจากสัตว์ธรรมดา บางตัวก็มีประวัติความเป็นมาบางตัวก็เกิดจากจินตนาการของมนุษย์หรือถูกแต่งขึ้นมา และสัตว์ป่าหิมพานต์แต่ละชนิดก็มีรูปร่างที่สวยงาม มีความลึกลับแตกต่างกันออกไป บางตัวก็มีอิทธิฤทธิ์บางตัวก็ไม่มี
โครงงานที่เกี่ยวข้อง
1.  โครงงานสัตว์ในวรรณคดีไทย เรื่องสัตว์ในป่าหิมพานต์ โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ได้ศึกษาสัตว์ในป่าหิมพานต์ว่าเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลกประหลาดเช่นกึ่งนกกึ่งลิง บางตัวมีรูปร่างเป็นการประสมกันระหว่างจระเข้กับนาค บางตัวมีกาย


ท่อนล่างเป็นสิงห์ส่วนหัวเป็นช้าง มีการกล่าวถึง กินรี (ตัวเมีย) และ กินนร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่า หิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ วารีกุญชร เป็นสัตว์ในป่า หิมพานต์ มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด หรือมีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา เป็นต้น
2.  โครงงานสัตว์ในวรรณคดี โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/4 โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและสีของสัตว์หิมพานต์ เช่นสินธพกุญชร มีกายเป็นม้าสีเขียวแต่ส่วนหัวกลับเป็นช้าง, อสูรปักษา มีลักษณะท่อนหัวและตัวยักษ์ ท่อนล่างเป็นนกและมีที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน
จากการศึกษาโครงงานที่เกี่ยวข้องพบว่า สัตว์ในป่าหิมพานต์เป็นสัตว์ที่ดูลึกลับ บางตัวมีการประสมกันระหว่างสัตว์2ชนิด บางตัวก็ม่รูปร่างประหลาดและดูหน้าพิศวง ดูมีอะไรหลายๆอย่างที่แปลกประหลาดไปจากสัตว์ธรรมดา รวมทั้งที่อยู่อาศัยและความเป็นมาของสัตว์ป่าหิมพานต์นั้นก็แตกต่างกัน

ชื่อ
การกำเนิด
ลักษณะ
คชสีห์

ไม่สามารถระบุการเกิดได้

มีลักษณะของราชสีห์กับช้าง โดยมีกายเป็น สิงห์และมีหัวเป็นช้าง มีพละกำลัง  เทียบเท่าช้างกับสิงห์รวมกัน และมีความน่าเกรงขาม

พยัคฆนที
   
เกิดเมื่อ 100-200ปีที่แล้ว
ตัวเป็นเสือ หางเป็นปลา
นาค
  
ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง

ครุฑ
  
ครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ

เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะเล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ

วารีกุญชร
 
ไม่มีที่มาอย่างแน่ชัด
มีรูปร่างเป็นช้างแต่มีเท้าเพียง 2 เท้าหน้า ลำตัวและหางเป็นปลาทั้งหมด(ส่วนชนิดที่มีเท้าครบทั้ง 4 เท้า แต่มีหางเป็นปลา เรียกว่า กุญชรวารี)

สกุณเหรา
  
ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน
มีรูปร่างครึ่งนาคครึ่งมังกร โดยหัวกับลำตัวเหมือนนาค แต่มีขาเหมือนมังกร ตัวยาวคล้ายงู มีเกล็ดตลอดตัว

กินรี
   
มีต้นกำเนิดที่แท้จริงเป็นมาอย่างไรนั้นยังไม่พบตำราไหนกล่าวไว้ชัดเจน แต่ในเทวะประวัติของพระพุธกล่าวไว้ว่า เมื่อท้าวอิลราชประพาสป่าแล้วหลงเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระศิวะนั้น ท้าวอิลราช และบริวารถูกสาปให้แปลงเพศเป็นหญิงทั้งหมด

รูปร่างคล้ายคนแต่มีปีกที่สวยงาม
เทพปักษี
     

ไม่ปรากฏการกำเนิดที่ชัดเจน แต่มีการเล่าขานต่อๆกันมาเป็นเวลาช้านาน
มีรูปร่างคล้ายคน มีหางเหมือนนก รูปร่างสวยงาม
หงส์จีน
        
มีอายุราวๆประมาณ500ปี
เป็นหงส์ที่มีรูปร่างคล้ายนกหลายชนิดรวมกันเช่น นกยูง นกอินทรี นกกระสา นกกระยางขายาว เหนี่ยว

ติณสีหะ
เกิดจากสัตว์เดรัจฉานที่ไม่รู้บุญคุณ
เป็นราชสีห์ รูปพรรณสัณฐานคล้ายนางโค กินหญ้าเป็นอาหาร มีเท้าเป็นกีบแบบม้า

สดายุ
      
เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นสหานกับท้าวทศรถ
มีรูปร่างเหมือนไก่และนกผสมกัน บนหัวเป็นหงอนสีทองเหลืองอร่าม มีขนสีเขียวมรกต

มยุระเวนไตย
ไม่ปรากฏการกำเนิดที่ชัดเจน เป็นสัตว์ที่ลึกลับในป่าหิมพานต์
ครึ่งนกยูงครึ่งครุฑ ลำตัวเป็นครุฑ หน้าและหัวเป็นนกยูง แขนและขาเป็นครุฑ หางเป็นนกยูง พื้นตัวครามอ่อน ปีกหางหงชาด 

ดุรงค์ปักษิณ
   
คำว่าดุรงค์ไกรสรมาจากคำ ๒ คำคือ ดุรงค์ ซึ่งคือหนึ่งในสี่สายพันธุ์ม้าและ ปักษิณ ที่แปลว่านกสัตว์หิมพานต์อีกชนิดที่เหมือนสัตว์ชนิดนี้คือ ม้าปีก ทั้งคู่คล้ายกันมากจะต่างก็เพียงแต่ม้าปีก มีหางดุจดั่งม้าทั่วไป หาใช่หางแบบนกไม่ ค้านตะวันตกเองก็มีม้าติดปีกในตำนานเช่นกัน ที่รู้จักกันดีก็คือ เปกาซัสม้าแห่งตำนานเทพของกรีก

ม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท

งายไส
     
เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ผู้ประพันธ์เองได้ พยายามหาที่มาของ ชื่อนี้แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามาจาก

มีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น


   














 

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

วิธีการดำเนินงาน
ในการจัดทำโครงงานคณะผู้จัดทำมีวิธีการดำเนินงานดังนี้
1.  สมาชิกในกลุ่มประชุมวางแผนว่าใครจะศึกษาสัตว์ชนิดไหน
2.  ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและหนังสือ
3.  นำข้อมูลที่ได้มาสรุปจัดหมวดหมู่
4.  เริ่มจัดทำโครงงาน
5.  สรุปผลการดำเนินงาน



















บทที่ 4
ผลของการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน

            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog)  เรื่อง สัตว์ในป่าหิมพานต์นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับสัตว์ในป่าหิมพานต์ เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป 

   การสร้างเว็บบล็อก (Blogger)
·                     ขั้นตอนที่ เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjS2WE1PgxfZEN7nveICaN2gs22pIJAf_hFO-Ok7wluky0b-qb92xBW2f9buVtdyKqhJOwI_PoKTcqNXHItg4fS5QOo8tHTRM5kIhCqUagTcixz85FlRMXDqglxnml2tg0fjMo60Jinf1w/s320/7.jpg

·                     ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย

กล่องข้อความ: 9https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj5zg5R0Z0u8Vc6r2O9Cu8CDKAQrihkYUi1gUq0uSQpsGzqfuK63ng83HRCfNHNHfsMMnaLaLEjJzGP1OUiRd1lTxaFr6BhiDUVgvFLyCJYxrnoSjfRSyPLTZJ_fUXJoSn-97E9mCtg9qE/s1600/6.jpg

·                     ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi49l2cKPropwtUvvVLokqnf2nf1EXw1yxZhBLq9GqGDDDCazskzjj02kfPWEvDuhZE_vHG6XuGlu1bP_jZGjMvbli5-tBllV9qTrOH9WP5AAGiNxUnHQzdNXynkGnS3FaT3d1gdBmSF1Y/s1600/5.jpg

·                     ขั้นตอนที่ 4  คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhUNwi9jUnkMuEKaNRwVi1yjcnzJSBO4Ek0qheMMzMDCuW8D_tR6BX0QjQ6DYrT30Kx52hiNb5JJbkI3Sj5sHjrfCuS65j_Qj-ZSWSn26vBT1InmKbilGGdHyhyeKPiW6UVw8JemoNm4Bs/s1600/4.jpg

·                     ขั้นตอนที่5   พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป เลือกแม่แบบตามใจชอบ


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg-J7B1UtnilWN7_L3EJe-VPMhRsMkb6amIEQKFkbS88RNw-5FJAFLktq3DutnL71hpxE5f9HkHQEkRiFsGuDupkV7N_rjsp_FZYPDu3qdctUGTSkmILPKxbGQepmsDLStSSvRYeXzrW1E/s1600/3.jpg

·                     ขั้นตอนที่ 6  คลิกปุ่มตามรูป

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj2z9DkbiDp3kJIXOsI52vOpWpN7ikOsPO9NrtW4wn2shrNkswm1NmQUaAP-hGJj1MIoWKPFXZq8TJldE9-p0p8Tad2zj0fJ3Mrd5MlZYH0sXvczgy8ow8l31JWzku32dkDt8-8wTw7n3c/s1600/2.jpg

·                     ขั้นตอนที่ 7  ใส่ข้อมูลต่างๆ

กล่องข้อความ: 11https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg_IoT4jRceQFmUGAHxI57FGVIcePReTBb_QjnlokT8bH3Lc1tqs5GdueV-lV_XmJloI-MLfeacNmsgM969IuZn7xg-bgKRdgLJAbKJDpajztHHu21zkIb7L3cuWuj-PZ2E-79TVsdgl7E/s1600/1.jpg


·                     ขั้นตอนที่ 8  คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก
















บทที่ 5
สรุปและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา
            จากการศึกษาพบว่าสัตว์ในป่าหิมพานต์เป็นสัตว์ที่ดูลึกลับและค้นหา แต่ละตัวก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามประเภท และสร้างเว็บบล็อกเพื่อเผยแพร่ข้อมูล
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.  เพื่อศึกษาการกำเนิดของสัตว์ในป่าหิมพานต์
2.  เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก
3.  เพื่อนำไปเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้ศึกษาการกำเนิดและความเป็นมาของสัตว์ในป่าหิมพานต์
สรุปผลของการดำเนินงาน
สัตว์ในป่าหิมพานต์เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.  ได้ความรู้เรื่องการกำเนิดของสัตว์ในป่าหิมพานต์มากขึ้น
2.  ได้รู้ว่าสัตว์ในป่าหิมพานต์มีลักษณะอย่างไร
3.  ได้ทำให้คนที่อยากมีความรู้เรื่องสัตว์ในป่าหิมพานต์ได้ศึกษาต่อ
ข้อเสนอแนะ
1.  ได้นำข้อมูลไปเผยแพร่และศึกษาต่อ
2.  มีความรู้เรื่องสัตว์ในป่าหิมพานต์มากขึ้น







                                                         บรรณนานุกรม
http://webcache.googleusercontent.com
http://emedicine.medscape.com/article/219557-overview#showall
http://emedicine.medscape.com/article/219557-